เรียบเรียงโดยJoh BURUT

สนับสนุนบทความโดย Motys Oil Thailand

 

 

ถ้าพูดถึงเกียร์ธรรมดา หลายๆ คนอาจจะนึกออกเพียงแค่เกียร์แมนนวลประเภท H-Pattern (เฮช-แพทเทิร์น) ซึ่งเป็นเกียร์ธรรมดาที่กันอย่างแพร่หลายที่สุด เพราะว่าเกียร์ H-Pattern นั้น มีกระบวนการผลิตที่ง่าย ต้นทุนต่ำ การดูแลรักษานั้น ก็ไม่ได้ยากเย็น ทำให้เกียร์ H-Pattern กลายเป็นเกียร์พิมพ์นิยมแห่งวงการเกียร์แมนนวลอย่างปฏิเสธไม่ได้

นอกจากเกียร์แมนนวลประเภท H-Pattern แล้ว ยังมีเกียร์แมนนวลอีกประเภทหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในวงการแคบๆ ...ใช่แล้วครับ วงการที่ผมกำลังจะพูดถึงก็คือวงการมอเตอร์สปอร์ต รวมไปถึงวงการรถแข่งสมรรถนะสูง และเกียร์แมนนวลที่ว่านี้ ก็คือ เกียร์ซีเควนเชียล (Sequential Transmission) นั่นเองครับ

ในปัจจุบันนี้ เกียร์ประเภทซีเควนเชียลสามารถพบเห็นได้ในรถแข่งโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถแข่งประเภทเซอร์กิต ที่ต้องชิฟท์อัพ-ชิฟท์ดาวน์ ในทุกจังหวะของการเข้า-ออกจากโค้ง นอกจากนั้น ในวงการทางตรงอย่างแดร็กเรซซิ่งเอง ก็นิยมใช้เกียร์ประเภทนี้อย่างแพร่หลายเช่นเดียวกันครับ

 

แล้วทำไมเกียร์ซีเควนเชียล ถึง ดีกว่า เกียร์แบบ H-Pattern

ถ้าไม่คำนึงถึงราคาต้นทุนแล้วล่ะก็ เกียร์ซีเควนเชียลนั้น มีข้อได้เปรียบกว่าเกียร์ H-Pattern อยู่หลายขุมเลยล่ะครับ จุดที่โดดเด่นที่สุดของเกียร์ซีเควนเชียลก็คือ สมรรถนะ นั่นเอง เพราะเหตุนี้ ในวงการรถยนต์สมรรถนะสูงแล้ว การได้ครอบครองเกียร์ซีเควนเชียล จึงถือเป็นการสร้างความได้เปรียบตั้งแต่ก่อนเริ่มการแข่งขัน

 

ส่วนประกอบของเกียร์ซีเควนเชียล

 

ข้อได้เปรียบของเกียร์ซีเควนเชียล

ในส่วนนี้ ผมจะอธิบายถึงข้อได้เปรียบของเกียร์ซีเควนเชียลเมื่อเปรียบเทียบกับเกียร์แมนนวลแบบ H-Pattern โดยผมจะโฟกัสในแง่ของสมรรถนะเป็นหลักนะครับ ซึ่งถ้าเรามองรวมๆ แล้ว ประโยชน์หลักๆ ของเกียร์ซีเควนเชียลจะมีทั้งหมด 3 ประการดังต่อไปนี้ครับ

 

ข้อได้เปรียบข้อที่หนึ่ง : สับได้เร็ว-เชนได้ไว

ข้อได้เปรียบที่โดดเด่นที่สุดของเกียร์ซีเควนเชียลก็คือว่า มันเปลี่ยนเกียร์ได้เร็วมากๆ เผลอจะเร็วพอๆ กับเกียร์คลัทช์คู่เสียด้วยซ้ำ (DCT Transmission) และนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไม เกียร์ซีเควนเชียลจึงกลายมาเป็นตัวเลือกอันดับต้นของรถแข่งเซอร์กิต รวมไปถึงรถสมรรถนะสูงแรงม้ามากๆ ที่มีศัตรูคู่อาฆาตชื่อว่า เวลา นั่นเองครับ

บทความแนะนำ :DCT ปะทะ CVT : คลัทช์คู่ในตำนาน [VS] สายพานมหัศจรรย์

สำหรับเกียร์ H-Pattern แล้ว ตำแหน่งการเปลี่ยนเกียร์จะเป็นแบบซิก-แซ็ก จังหวะการเข้าเกียร์จึงเป็นแนวฟันปลา ยิ่งสโตรคยาว ก็ยิ่งเสียเวลาเปลี่ยนเกียร์มาก ทำให้เสียความต่อเนื่องของการส่งกำลัง และเสียแรงม้าไปอย่างเปล่าประโยชน์ เป็นผลให้สามารถเวลาต่อรอบได้ช้าลงนั่นเองครับ

 

การเข้าเกียร์เปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ของแมนนวล H-Pattern

 

ในทางตรงกันข้าม สำหรับเกียร์ซีเควนเชียลนั้น การเปลี่ยนตำแหน่งของเกียร์ จะอาศัยการเคลื่อนที่เพียงแค่แกนเดียว (ดึง-ผลัก) ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ที่สั้นมากๆ โดยกลไกภายในห้องเกียร์จะเปลี่ยนการเคลื่อนที่แบบดึง-ผลัก ให้กลายเป็นการเข้าเกียร์ไล่เรียงลำดับ ฟังดูแล้วเหมือนง่าย แต่กลไกที่ว่านี้ มีความซับซ้อนและละเอียดอ่อนอย่างมากครับ

 

ข้อได้เปรียบข้อที่สอง : ลืมการ สับว่าว...ไปได้เลยครับ

ผมเชื่อว่ามีท่านผู้อ่านหลายคนกำลังงงว่า ...คำว่า สับว่าว มันคืออะไร ...สับว่าว ก็หมายถึงเข้าเกียร์ผิดนั่นเองครับ ไม่ว่าจะใส่เกียร์ไม่เข้า รวมไปถึงการเข้าเกียร์ผิดตำแหน่ง ซึ่งปกติแล้วเค้าจะเรียกว่า สับว่าว นั่นเองครับผม

ข้อได้เปรียบข้อนี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการแข่งขันประเภทเซอร์กิต ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ต้องเปลี่ยนเกียร์ขึ้น-ลงอย่างตลอดและต่อเนื่อง สำหรับเกียร์แบบ H-Pattern แล้ว มีความเป็นได้สูงมากว่า นักแข่งอาจจะเปลี่ยนเกียร์ผิดตำแหน่ง ถ้าเข้าผิดในจังหวะอัพ-ชิฟท์ (เพิ่มเกียร์) ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ถ้าหากเข้าผิดในจังหวะดาวน์-ชิฟท์ล่ะก็ ได้เรื่องแน่นอนครับ...

 

 

ยกตัวอย่างเช่น จะเปลี่ยนเกียร์จากเกียร์ 5 มาเป็นเกียร์ 4 แต่ดันเข้าผิดเป็นเกียร์ 2 คราวนี้ล่ะก็ รอบเครื่องได้ฟาดขึ้นไปหลักหมื่นแน่นอน อย่างแรกที่จะเกิดขึ้นก็คือ ล้อล็อค ...ถ้าเหยียบคลัทช์ทันก็แล้วไปครับ ถ้าเหยียบไม่ทันล่ะก็ สวดมนต์ภาวนาให้กับเครื่องยนต์ได้เลยครับ...

แต่สำหรับเกียร์ซีเควนเชียลแล้ว เนื่องจากว่าการเปลี่ยนเกียร์จะสามารถเพิ่มหรือลดเกียร์ ได้ทีละหนึ่งตำแหน่งเท่านั้น ไม่สามารถ ข้าม เกียร์ได้ เพราะฉะนั้น โอกาสที่นักแข่งจะเข้าเกียร์ผิดตำแหน่ง จึงลดลงเป็นศูนย์ทันที ซึ่งข้อได้เปรียบข้อนี้ก็ถูกนำมาใช้กับการแข่งขันประเภทแดร็ก เรซซิ่ง เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการเปลี่ยนเกียร์นั่นเองครับ ไม่ต้องกลัวสับว่าว ไม่ต้องกลัวสับวืด...

 

โซนแนะนำสินค้า

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเกียร์จะโคตรเทพ กลไกภายในจะมีความแม่นยำอย่างไม่มีข้อผิดพลาด ฟันเฟืองจะรับทอร์คได้มหาศาล แต่สิ่งที่ขาดเสียไม่ได้เลยก็คือระบบหล่อลื่น น้ำมันเกียร์ที่ดีนั้น ต้องสามารถหล่อเลี้ยงฟันเฟืองและเพลาภายในเสื้อเกียร์ให้ปราศจากความร้อนและแรงเสียดทานส่วนเกิน นอกเหนือจากนั้นแล้ว น้ำมันเกียร์ที่ประสิทธิภาพสูง ยังทำให้เราเข้าเกียร์ (Shift-in) ได้ง่ายและไวขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากที่ซินโครไนเซอร์ที่สามารถหมุนด้วยความเร็วรอบเท่ากับเพลาเกียร์ได้อย่างทันท่วงที (ปกติแล้ว ซินโครไนเซอร์จะหมุนด้วยความเร็วไม่เท่ากับเพลาเกียร์ ส่งผลเกิดเสียงดังแคร็กๆ ในขณะเปลี่ยนเกียร์แบบฉับพลัน น้ำมันเกียร์คุณภาพสูงจะช่วยลดเวลาดังกล่าว ส่งผลให้เราสามารถเข้าเกียร์ได้เร็วและนุ่มนวลขึ้นนั่นเองครับ)

และในวันนี้ ผมก็จะขออนุญาตมาแนะนำน้ำมันเกียร์คุณภาพสูงสัญชาติญี่ปุ่น Motys ที่ส่งตรงให้ถึงมือคนเล่นรถอย่างเราๆ ให้ได้สัมผัสถึงคำว่า สมรรถนะ อย่างแท้จริง

น้ำมันเกียร์สังเคราะห์แท้ M405ถูกออกแบบมาเพื่อเกียร์แมนนวลโดยเฉพาะ ช่วยหล่อลื่นและถนอมฟันเฟืองรวมไปถึงซินโครไนเซอร์ (Synchronizer) ยืดอายุการใช้งานให้กับชุดเกียร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ได้ในรถยนต์ทั่วไปรวมไปถึงรถแข่ง นอกจากนั้นยังมี M408Dซึ่งออกแบบใช้สำหรับรถยนต์สมรรถนะสูง ที่มาพร้อมกับเกียร์ความแม่นยำสูง ซึ่งเกียร์เพทพวกนี้จะมีระยะเคลียร์แรนซ์ที่น้อยมากๆ (ชิดมากๆ) อย่างเช่น นางฟ้าอมตะ 370Z รวมไปถึงรถสปอร์ตสายพันธุ์ใหม่ GT86/BRZ และอีกหลายต่อหลายรุ่นครับ

สำหรับรถยนต์ที่ผ่านการโมดิฟายเครื่องยนต์มาอย่างหนัก ภาระและความเค้นนั้นก็จะถูกส่งต่อไปที่เกียร์โดยตรง น้ำมันเกียร์ M409 และ M409Sจึงถูกออกแบบมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเกียร์ที่ใช้งานในช่วงอุณหภูมิสูง และรองรับภาระสูงเป็นเวลานาน ทั้ง M409 และ M409Sสามารถใช้ได้กับเกียร์ประเภทซินโครไนเซอร์ รวมไปถึงเกียร์ด็อก-บ็อกซ์ด้วยครับผม สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจในผลิตภัณฑ์ของ Motys สามารถเข้าไปชมรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ เว็ปไซต์ Motys Thailandหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้โดยตรงที่แฟนเพจ Motys Oil Thailand

 

ข้อได้เปรียบข้อที่สาม : จะเข้าเกียร์ไหน...ด้ามเกียร์ก็อยู่ตำแหน่งเดิม

เนื่องจากว่า เกียร์ H-Pattern นั้น ตำแหน่งของหัวเกียร์จะเปลี่ยนไปตามตำแหน่งเกียร์ ยกตัวอย่างเช่นเกียร์ 1 จะอยู่ตำแหน่งบน-ซ้าย เกียร์ 5 จะอยู่ตำแหน่งบน-ขวา เป็นต้นนะครับ ยิ่งมีสโตรกมากเท่าไหร่ ตำแหน่งของหัวเกียร์ก็จะยิ่งห่างออกไปมากเท่านั้น ซึ่งมีโอกาสทำให้เหตุการณ์ที่เรียกว่า เกียร์หาย นั่นก็คือการที่เราคว้าหัวเกียร์ได้อย่างไม่เต็มมือ มีโอกาสทำให้ สับว่าว ได้เช่นกันครับ

 

 

แต่สำหรับเกียร์ซีเควนเชียลแล้ว ไม่ว่าเราจะเข้าเกียร์ไหน ด้ามเกียร์ก็จะเด้งกลับมาอยู่ที่ตำแหน่งเดิม เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องพะวงถึงตำแหน่งของหัวเกียร์ และมั่นใจได้เลยว่า เกียร์ไม่หาย แน่นอนครับ

 

เกียร์ซีเควนเชียล ควบคุมการทำงานโดยระบบนิวเมติค

 

ด้วยการเปลี่ยนเกียร์ที่ง่ายดาย ซึ่งอาศัยการเคลื่อนที่เพียงแกนเดียว (ดึง-ผลัก) จึงทำให้เกียร์ซีเควนเชียลถูกอัพเกรดเป็นระบบ เกียร์แบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-automatic) ซึ่งถูกควบคุมโดยระบบอิเล็คทรอนิคส์อีกต่อหนึ่ง ส่วนกลไกการเปลี่ยนเกียร์ก็จะมีทั้งแบบนิวแมติค (ใช้ลม) รวมไปถึงแบบไฮดรอลิคส์ (ใช้น้ำมันไฮดรอลิคส์) โดยมากแล้ว เกียร์ซีเควนเชียลแบบอัพเกรดนี้ จะรับคำสั่งมาจากแพดเดิล-ชิฟท์ ที่อยู่ตรงพวงมาลัยนั่นเองครับ และการเปลี่ยนเกียร์ที่แพดเดิลชิฟท์นั้น จะทำให้นักแข่งไม่ต้องละมืออกจากพวงมาลัย ส่งผลให้สมรรถนะในการควบคุมรถเพิ่มขึ้นอีกด้วยครับ

สำหรับบทความนี้ ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้นะครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านจะนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด แล้วกลับมาพบกันใหม่ได้ ในบทความเชิงเทคนิคในตอนต่อๆ ไปนะครับ โดยท่านผู้อ่านสามารถติดตามบทความได้ก่อนใครที่แฟนเพจ Johs Autolife

 

เรียบเรียงโดยJoh BURUT

สนับสนุนบทความโดยMotys Oil Thailand

 

 

Get Connected | ติดต่อกับพวกเราได้ที่...